ผลงานเด่น

 ชื่อนวัตกรรม   สมุด “สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”



ทีมพัฒนานวัตกรรม                นางบุศรินทร์     เพ็ชรตา           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
                                      นางสาวสุวรรณี  ใจคำ              นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
ส่วนราชการ                        โรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันโป่ง ตำบลเสริมกลาง
อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง โทรศัพท์ 054-380847
E-mail: sunpong_06162@hotmail.com
หลักการและเหตุผล
           เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันโป่ง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง พบอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี เช่นกัน
ข้อมูลสนับสนุน ดังนี้
1.อัตราการป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบ พ.ศ. 2554 - 2556         

อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เปรียบเทียบ พ.ศ. 2554 - 2556         
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันโป่ง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ปี
ผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รวม
จำนวน(คน)
อัตรา:แสนปชก.
จำนวน(คน)
อัตรา:แสนปชก.
จำนวน(คน)
อัตรา:แสนปชก.
จำนวน(คน)
อัตรา:แสนปชก.
2554
18
905.43
52
2,615.69
8
402.41
78
3,923.54
2555
21
1,072.52
53
2,706.84
12
612.87
86
4,392.23
2556
22
1,131.10
56
2,879.17
15
771.20
93
4,781.49
แหล่งข้อมูล รายงานการคัดกรอง งบปี 2554- 2556
          จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 – 2556 จำนวน 18 ราย 21 รายและ 22 รายตามลำดับ สำหรับโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เช่นกัน คือ 52 ราย 53 รายและ 56 ราย ตามลำดับ ดังนั้น ปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันโป่ง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

2.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบ  พ.ศ. 2554 - 2556         
ปี 2554          กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 60  คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่  2 ราย   ร้อยละ  3.33
ปี 2555          กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 52  คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่  2 ราย   ร้อยละ  3.84
ปี 2556          กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 45 คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่  4 ราย   ร้อยละ   8.88

ปี 2554          กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 102 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่  2 ราย   ร้อยละ 1.96
ปี 2555          กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 98 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่  4  ราย   ร้อยละ 4.08
ปี 2556          กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง 113 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่  5 ราย   ร้อยละ 4.42

จะเห็นได้ว่า อัตราการป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และจากบริบทของเขตรับผิดชอบ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป มักจะทำงานตั่งแต่เช้าตรู่ถึงพลบค่ำ ทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพตนเอง ร่วมกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบในการทำงาน ทำให้รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นการเพิ่มภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นการให้ความสำคัญและวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อลดอัตราการป่วยและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น และจากแบบประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PCA : Primary Care Award) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านสันโป่ง งบประมาณ 2557 ได้กำหนดการลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นความท้าทายขององค์กร ดังนั้น การดำเนินการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่ง คือ การสร้างนวัตกรรม สมุด“สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”ขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยเป็นโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อประเมินประสิทธิผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้สมุด “สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”
2.เพื่อลดอัตราการป่วยเป็นโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง


เป้าหมาย
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 30 คน

ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ 20 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2557  - วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 (3เดือน)

วิธีการ
1.จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเบื้องต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การออกกำลังกายที่ถูกวิธี โภชนาการที่เหมาะสม และรายละเอียดการใช้สมุด “สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”
          สมุด ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ส่วนที่ 2 กราฟบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด กราฟบันทึกระดับความดันโลหิตเปรียบเทียบรายเดือนประวัติเบื้องต้นของกลุ่มเสี่ยงและข้อมูลสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย ระดับไขมันในช่องท้อง ระดับไขมันไขมันโดยรวม กล้ามเนื้อลาย อายุสุขภาพ ก่อนและหลังการใช้สมุด “สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”
ส่วนที่ 3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เน้น 32
         กิจกรรมของโครงการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยใช้เครื่องชั่ง Karada scan วัดค่าดัชนีมวลกาย ระดับไขมันในช่องท้อง ระดับไขมันไขมันโดยรวม กล้ามเนื้อลาย อายุสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลก่อนการใช้สมุด
2.แจกสมุด “สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ” กำหนดเป้าหมาย 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 12 คน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 18 คน
3.มอบหมายหน้าที่ให้ อสม.เชี่ยวชาญสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นผู้ดูแลวิธีการใช้สมุดและให้ความรู้เพิ่มเติมกับกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านตนเอง
4.ติดตามกลุ่มเสี่ยง โดยตรวจน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และวัดความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เดือนละ 1 ครั้ง รวม 3 เดือน
5. เมื่อครบ 3 เดือนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแล้ว ให้กลุ่มเสี่ยงตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยใช้เครื่องชั่ง Karada scan อีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพก่อนและหลังการใช้สมุด

ประเมินผล
1.เปรียบเทียบ ดัชนีมวลกาย ระดับไขมันในช่องท้อง ระดับไขมันโดยรวม กล้ามเนื้อลาย อายุสุขภาพ ของกลุ่มเสี่ยงก่อนและหลังการใช้สมุด“สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”
2.เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานก่อนและหลังการใช้สมุด“สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”
3.เปรียบเทียบระดับความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการใช้สมุด“สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”
4. อัตราการป่วยเป็นโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 4 และอัตราการป่วยเป็นโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าร้อยละ 8
5.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (สีเขียวอ่อน) ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนเป็นสีขาว ไม่น้อยกว่า    ร้อยละ 30

ผลการดำเนินงาน
          ได้ชี้แจง อสม.เชี่ยวชาญสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกหมู่บ้าน ในการใช้สมุดในกลุ่มเสี่ยง พร้อมกับชี้แจงรายละเอียดต่างๆเพื่อช่วยติดตามกลุ่มเสี่ยงของเขตรับผิดชอบของตน และดำเนินการอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง และแจกสมุด “สุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ”ให้กับกลุ่มเสี่ยงแล้ว และได้ดำเนินการตรวจสุขภาพก่อนการใช้สมุดโดยเครื่องชั่ง Karada scan

ปัญหา/อุปสรรค
1.กลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ อ่านหนังสือไม่ได้ หรือมองเห็นไม่ชัดเจน ต้องมีผู้แลในการอ่านหรือจดบันทึกให้

สรุป
          ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กำหนดตรวจน้ำตาลในเลือดในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และวัดความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 1 วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2557





เอกสารอ้างอิง
          การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 32ส และลดเสี่ยง กองสุขศึกษา. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข,2556
          เอกสารความรู้ประกอบการดำเนินโครงการร้านยาอาสาเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน. กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ, 2556
          เอกสารการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน. สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, 2551
          แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ สำหรับผู้สูงอายุ. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2549